คำนำ
สาระท้องถิ่นเรื่องน้ำตาลมะพร้าวบ้านแพ้ว ในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 3 เป็นการศึกษาตาม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในมาตรา 23 เน้นการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ให้ความสำคัญของการบูรณาการความรู้ คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาไทย และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา พุทธศักราช 2551 ในส่วนที่สถานศึกษาจัดทำเป็นสาระเพิ่มเติม (สาระท้องถิ่น) จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เป็นไปตามความต้องการของชุมชน ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ศึกษาจากกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหา จุดเน้น ความต้องการของท้องถิ่น ของสถานศึกษา และความต้องการของผู้เรียน องค์ประกอบในสาระท้องถิ่นนี้ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็น คำแนะนำการใช้หลักสูตร หลักการของหลักสูตร วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร คำอธิบายรายวิชา มาตรฐาน ตัวชี้วัด เนื้อหา เวลาเรียน แนวการจัดกิจกรรม สื่อการสอน การวัดและประเมินผล หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงาน ชิ้นงาน แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
การนำไปใช้ สาระท้องถิ่นนี้จะนำไปใช้ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนบ้านแพ้ววิทยา (ตี่ตง) ลักษณะการเรียนรู้ประกอบด้วยภาคทฤษฏีและการปฏิบัติจริง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ วิธีเรียนรู้เรียนรู้นำภูมิปัญญาในท้องถิ่น ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
คณะผู้จัดทำหลักสูตร ขอขอบพระคุณ ดร.อัมรินทร์ อินทร์อยู่ ผู้ใหญ่ทวี คงเจริญ
อาจารย์ปราณี เจริญธรรม อาจารย์อุมาภรณ์ วงษ์วิสิฐศักดิ์ ผู้ปกครองนักเรียน ที่กรุณาให้แนวคิดและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรในครั้งนี้ จนหลักสูตรนี้เสร็จสมบูรณ์
ผู้จัดทำ
นักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน รุ่น 11
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น