วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

หลักสูตรน้ำตาลบ้านแพ้ว


คำนำ

                                สาระท้องถิ่นเรื่องน้ำตาลมะพร้าวบ้านแพ้ว ในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่  3   เป็นการศึกษาตาม ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542   มาตรา  22  ระบุว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในมาตรา  23  เน้นการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  ให้ความสำคัญของการบูรณาการความรู้  คุณธรรมกระบวนการเรียนรู้ตามความเหมาะสมของระดับการศึกษาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาไทย และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา    หลักสูตรแกนกลางสถานศึกษา พุทธศักราช 2551 ในส่วนที่สถานศึกษาจัดทำเป็นสาระเพิ่มเติม (สาระท้องถิ่น) จัดทำขึ้นสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษาได้นำไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เป็นไปตามความต้องการของชุมชน ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น   ศึกษาจากกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ทำการวิเคราะห์สภาพปัญหา  จุดเน้น  ความต้องการของท้องถิ่น  ของสถานศึกษา  และความต้องการของผู้เรียน    องค์ประกอบในสาระท้องถิ่นนี้ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็น   คำแนะนำการใช้หลักสูตร หลักการของหลักสูตร วิสัยทัศน์   จุดมุ่งหมายของหลักสูตร  คำอธิบายรายวิชา มาตรฐาน ตัวชี้วัด  เนื้อหา เวลาเรียน  แนวการจัดกิจกรรม  สื่อการสอน  การวัดและประเมินผล  หน่วยการเรียนรู้   แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้  ใบงาน  ชิ้นงาน  แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน

                                การนำไปใช้  สาระท้องถิ่นนี้จะนำไปใช้ในระดับมัธยมศึกษาปีที่  3  ของโรงเรียนบ้านแพ้ววิทยา (ตี่ตง) ลักษณะการเรียนรู้ประกอบด้วยภาคทฤษฏีและการปฏิบัติจริง รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ  วิธีเรียนรู้เรียนรู้นำภูมิปัญญาในท้องถิ่น  ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

                                คณะผู้จัดทำหลักสูตร ขอขอบพระคุณ ดร.อัมรินทร์  อินทร์อยู่  ผู้ใหญ่ทวี  คงเจริญ 
อาจารย์ปราณี  เจริญธรรม   อาจารย์อุมาภรณ์  วงษ์วิสิฐศักดิ์    ผู้ปกครองนักเรียน  ที่กรุณาให้แนวคิดและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรในครั้งนี้  จนหลักสูตรนี้เสร็จสมบูรณ์

                                                               

                                                                                                                                ผู้จัดทำ
                                                                                นักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน รุ่น 11

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทความเรื่อง ความจำของมนุษย์กับความจำเป็นในปัจจุบัน


โดย นงนุช  ยืดเนื้อ  549400204
ในชีวิตปัจจุบันคนเราต้องพบกับเรื่องราวมากมายทั้งที่ดีและไม่ดีแต่คนเรามักจะจำในสิ่งที่ดีไว้ได้อย่างแม่นยำรวดเร็วโดยเฉพาะเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจ ซึ่งผู้เขียนจะเขียนความจำของมนุษย์ว่ามีความจำเป็นหรือไม่ 
การจำเกิดจากการเรียนรู้ของสมองซึ่งแบ่งความจำของมนุษย์ออกเป็น  2  แบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละแบบจะเก็บไว้ในสมองคนละส่วนกัน ได้แก่ ประเภทที่หนึ่ง ความจำระยะสั้น (shot-term memory - STM)  ถูกเก็บอยู่ในสมองส่วนกลาง เป็น ความจำที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น จำชื่ออาหารที่เพื่อนสั่งซื้อ จำเบอร์โทรติดต่องานจากสมุดโทรศัพท์ จำเลขหวยที่ข้างๆบ้านเขาคุยกัน เป็นต้น ซึ่งจะเก็บข้อมูลเพียง 6 หรือ 7 รายการไว้ได้ 1 นาที เป็นความจำที่ยังไม่คงทนถาวร  เดินกลับบ้านเจอสุนัขข้างทางเห่า อาจจะลืมหมดก็ได้  ประเภทที่สอง  ความจำระยะยาว (long-term memory - LTM) เก็บอยู่ในสมองส่วนนอก ข้อมูลอะไรก็ตามที่สำคัญและมีความหมายจะโยกย้ายจากความจำระยะสั้นไปสู่ระบบ ความจำซึ่งเรียกว่า ความจำระยะยาว ซึ่งอาจเก็บข้อมูลได้เป็นแรมปีหรือตลอดไป ทำหน้าที่เสมือนคลังข้อมูลถาวรหรือค่อนข้างจะถาวร  ทำให้เราสามารถจำบางเรื่องได้นาน  ความจำระยะยาว อาจแบ่งเป็นสองประเภท คือ การจำความหมาย (Semantic Memory)    กับการจำเหตุการณ์ (Episodic Memory)   การจำความหมายจะลืมได้ยากกว่าการจำเหตุการณ์ บางอย่างก็ไม่มีการลืมเลย เช่น ชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์ ชื่อวัตถุสิ่งของที่เราเรียกในภาษาของเรา เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชีวิตหรือโลกของเรา  ส่วนการจำเหตุการณ์ อาจจะลืมได้ง่ายกว่า  เช่น เราพบกับแฟนวันแรกวันไหน บางคนถึงขนาดจำไม่ได้ว่าแต่งงานเมื่อวันที่เท่าไหร่เดือนไหน เมื่อเดือนที่แล้วเราไปที่ไหนมาบ้าง เราฉลองวันเกิดปีแรกเมื่ออายุเท่าไหร่ รายละเอียดของอุบติเหตุที่เคยประสบ เป็นต้น แหล่งอ้างอิงhttp://br.correct.go.th/eduweb/index.php/eduessay/44-educational-knowledge/84-memory-forgetting.html
การอ่านเป็นเทคนิคในการจำการเรื่องราวต่างๆที่ตนเองสนใจการอ่านที่ทำให้จำได้ง่ายสามารถทำได้คือเวลาอ่าน
บทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควร จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้ว ลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไปข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แหล่งอ้างอิง  http://blog.eduzones.com/diaw30/22324  นอกจาการอ่านเรื่องที่สนใจแล้วทำให้เกิดความจำแล้วการจำเรื่องต่างๆใกล้ตัวก็มีความจำเป็นเช่นเทคนิคการจำภาษาอังกฤษเทคนิคแรก โยงสิ่งที่ต้องจำไปหาสิ่งที่จำง่ายและติดตากว่า เทคนิคที่สองใส่ทำนองร้องเป็นเพลง เทคนิคที่สามวิธีจำโดยสังเกตตัวอักษรที่เหมือนกัน เทคนิคที่สี่ประโยคเด็ดช่วยจำ เทคนิคที่ห้า จำเป็นรูปภาพแหล่งอ้างอิง http://www.taladhonda.com/?p=428 : ซึ่งการจำต่างๆมีมีความสำคัญในการสอนของครูเช่นวิธีการสอนแบบแบบร่วมมือ วิธีการสอนแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI แหล่งอ้างอิงhttp://www.inspect12.moe.go.th/insite/Vijai.htm#16  http://www.library.msu.ac.th/web/dublin.linkout.php?url=http://khoon.msu.ac.th/full134/urairak131375/titlepage.pdf
                สรุปการจำเกิดจากการเรียนรู้ของสมองที่มีความจำระยะสั้นและระยะยาว การจำได้นานต้องมีเทคนิคในการจำให้เกิดการจำที่ถาวรเช่นการอ่าน  การเรียนรู้จากการสอนในรูปแบบต่างๆจำช่วยให้เกิดความจำที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีดังนั้นการจำมีความสำคัญต่อและมีความจำเป็นในปัจจุบัน


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน..เรื่อง ความซื่อสัตย์

คำชี้แจง   โปรดทำเครื่องหมายลงในช่องที่กำหนดที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุด
5   หมายถึง  เห็นด้วยมากที่สุด
4   หมายถึง  เห็นด้วยมาก
3   หมายถึง  เห็นด้วยปานกลาง
2    หมายถึง  เห็นด้วยน้อย
1    หมายถึง  ไม่เห็นด้วย

ประเด็นการประเมิน
ระดับความคิดเห็น
5
4
3
2
1
1. ด้านเนื้อหา
1.1           เนื้อหาของบทเรียนมีความน่าสนใจ

/



1.2           การนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนสอนทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่าย

/



1.3           เนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีการเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายากทำให้ทำความเข้าใจได้ดี

/



1.4           มีการบอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน  เข้าใจได้ง่าย

/



1.5           มีการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น

/



1.6           เปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกจากแบบทดสอบหรือเนื้อหาใหม่เพื่อไปทบทวนได้ตลอดเวลาทำให้ผู้เรียนได้ทบทวนจนเข้าใจได้ดี

/



1.7           มีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด

/



1.8           มีการให้คำชมเชยเมื่อตอบคำถามถูกต้องทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจในการทำกิจกรรม


/


1.9           มีการประเมินผลซึ่งทำให้ผู้เรียนรู้และประเมินตนเองได้อีกทั้งสามารถกลับไปทบทวนทำให้มีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น


/


1.10    สามารถนำเนื้อหาในบทเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้


/



2.             ด้านการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.1           องค์ประกอบด้านข้อความ

/



2.1.1     ข้อความมีขนาดตัวอักษรเหมาะสม

/



2.1.2     ความหนาแน่นข้อความเหมาะสม

/



2.1.3     สีข้อความมีการให้สีเหมาะสม

/



2.1.4     ข้อความและภาพสอดคล้องกัน

/



2.1.5     นำเสนอข้อความให้อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ

/



2.2           องค์ประกอบด้านภาพและกราฟฟิก

/



2.2.1     ภาพประกอบสอดคล้องกับเนื้อหาและ

/



2.2.2     ภาพที่ใช้มีความสอดคล้องกับวัยของผู้เรียน

/



2.2.3     ขนาดของภาพมีความเหมาะสม

/



2.3           องค์ประกอบด้านเสียง





2.3.1     เลือกเสียงให้สอดคล้องกับเนื้อหา

/



2.3.2     เสียงประกอบมีความสอดคล้องกับระดับผู้เรียน

/



2.3.3     เสียงประกอบมีความชัดเจนและผู้บรรยายหรือผู้พูดมีลีลาการใช้ เน้นถ้อยคำที่น่าสนใจชวนติดตาม


/


2.3.4     เสียงบรรยาย เสียงประกอบสามารถสื่อความหมาย กะทัดรัด

/



2.3.5     เสียงมีคุณภาพของเสียงพูด เสียงบรรยาย หรือเสียงดนตรี ชัดเจนถูกต้อง

/



2.4           องค์ประกอบด้านการควบคุมหน้าจอ





2.4.1     การออกแบบปุ่มควบคุมหน้าจอมีความเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียน

/



2.4.2     สัญรูปสื่อความหมายได้ตรงกับการใช้งาน

/