วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

บทความ เรื่องการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยโปรแกรม GSP


 นงนุช ยืดเนื้อ   หลักสูตรและการสอน ปโท รุ่น 11
.

     ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น "สารสนเทศ" นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ             "ไร้พรหมแดน" อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วย           ภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information) ก็ตาม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำประโยชน์         มาสู่วงการศึกษา ได้อย่างเหมาะสมหากรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่าต่อการลงทุน (ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ .2541)
               เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อุปกรณ์ที่เป็นเทคโนโลยีระดับสูงอย่างหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทอย่างยิ่งได้แก่ "คอมพิวเตอร์"(Computer) ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ โดยเฉพาะวงการศึกษาได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร การบริการ และการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน    คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในวงการศึกษา หรืออาจเรียกว่า คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา (Computer-Based Education, Instructional Computer : IC, Computer-Based Instruction : CBI) มีความหมายเหมือนกันคือ การนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ประโยชน์ในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะ เป็นการจัดการเรียนการสอน การลงทะเบียน การจัดทำบัตรนักศึกษา การจัดทำผลการเรียนการสอนรวมไป จนถึงการออกใบรับรองการจบหลักสูตร
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทย โดยให้
ความสำคัญ กับผู้เรียนเป็นหลัก    เพื่อรองรับกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งด้านเศรษฐกิจ   สังคม
และเทคโนโลยี  ให้ความสำคัญสูงสุดในกระบวนการการปฏิรูปการเรียนรู้     ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ    สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง    และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดย
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด    การจัดการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง    การปฏิบัติให้คิดเป็น   ทำเป็น   ปลูกฝังคุณธรรมในทุกวิชา    มีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์   เป็นคนดี   คนเก่ง   และมีความสุขอย่างแท้จริง                                        

เรียนคณิตศาสตร์ไปเพื่ออะไร  เป้าหมายสูงสุดของการเรียนคณิตศาสตร์ก็คือ การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  และการนำไปใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาชีพต่าง ๆ   หลายคนอาจสงสัยว่า ไม่เห็นต้องเรียนคณิตศาสตร์มากนัก บวก ลบ คูณหารจำนวนเราก็มีเครื่องคิดเลขใช้แล้ว นับว่าเป็นความเข้าใจผิด คณิตศาสตร์มิใช่เพียงต้องให้คิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้น ในโลกยุคปัจจุบันเมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์เราควรได้คุณสมบัติต่อไปนี้จากการเรียน
                1. ความสามารถในการสำรวจ
                2. ความสามารถในการคาดเดา
                3. ความสามารถในการให้เหตุผล
                4. ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาที่ไม่เคยพบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัตินี้เรียกว่าศักยภาพทางคณิตศาสตร์ ( Mathematical Power )ไม่ว่าเราจะมีอาชีพอะไรถ้าเรามีคุณสมบัตินี้  เรียกได้ว่าเป็นคนที่มี ศักยภาพทางคณิตศาสตร์ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ถ้าเราถูกสอนโดยวิธีครูบอกความรู้ หรือเทคนิคลัด ๆ ให้ท่องจำ นำไปใช้โดยปราศจากความเข้าใจ ไม่รู้ที่มา ไม่รู้เหตุผล  เราก็จะไม่ได้คุณสมบัติดังกล่าว   อะไรคือหัวใจสำคัญของคณิตศาสตร์  เมื่อเราเรียนคณิตศาสตร์ไปจนถึงระดับ มัธยมศึกษา เราควรได้สิ่งต่อไปนี้
               1. มีความรู้ใน คำศัพท์ บทนิยาม หลักการ ทฤษฎีบท  โครงสร้าง วิธีการ
              2. มีความเข้าใจ ในความคิดรวบยอดจนสามารถอธิบายได้ หรือเขียนได้ หรือยกตัวอย่างได้ แปลงปัญหาจากรูปหนึ่งไปสู่รูปหนึ่งได้ ประมาณคำตอบได้ ระบุความสัมพันธ์ได้   ตรวจสอบผลที่เกิดได้
             3. มีทักษะต่าง ๆ ดังนี้  ทักษะการแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง การคิดอย่างมีเหตุผล การคิดคำนวณ  การวัด การประมาณ  การอ่านและแปลผลข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การทำนาย  และการใช้คอมพิวเตอร์
            4. มีความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้
โปรแกรม Geometer’s Sketchpad (GSP)เป็นโปรแกรมคณิตศาสตร์ที่ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพโปรแกรมหนึ่ง สามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้หลายวิชา เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัสโปรแกรม GSP เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Approach) และเป็นการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-Centered Learning) โปรแกรม GSP เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะของการนึกภาพ (Visualization) ทักษะของกระบวนการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills) นอกจากนี้ การใช้โปรแกรม GSP ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เป็นการบูรณาการสาระที่เกี่ยวข้องกับความรู้คณิตศาสตร์ และทักษะด้านเทคโนโลยีเข้าด้วยกันทำให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาพหุปัญญาอันได้แก่ ปัญญาทางภาษา ด้านตรรกศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านศิลปะ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้โปรแกรม The Geometer's Sketchpad
       การนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครูในยุคของการสื่อสารที่ไร้พรหมแดนเช่นทุกวันนี้ เพื่อช่วยดึงดูดความสนใจ ความกระตือรือร้นของนักเรียน สื่อที่ดีในยุคนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้นโปรแกรม The Geometer's Sketchpad (GSP) นั่นเอง การพัฒนาอีกมิติหนึ่งของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้และเรียนรู้จากการสร้างเสริมประสบการณ์ ฝึกฝนของตนเองอย่างต่อเนื่องจนเกิดทักษะและความรู้ความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ วิชาคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างมีเหตุมีผล  สร้างสรรค์ และยังมีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องไปยังสาระการเรียนอื่นๆ อีก    จากการศึกษาและแนวทางการศึกษาของนักวิชาการหลาย ๆ ท่าน กล่าวได้ว่าสื่อที่จะช่วยปรับเปลี่ยนลักษณะของวิชาคณิตศาสตร์จากนามธรรมมาสู่รูปธรรมได้จะต้องอาศัยภาพการเคลื่อนไหว การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  การโต้ตอบสื่อสารกันทันใดเข้าใจง่าย รวดเร็วและเกิดจินตนาการ การใช้สื่อ โปรแกรม GSP นี้จึงมีโอกาสช่วยได้อย่างมากในการทำให้นักเรียนพัฒนาพหุปัญญา อันได้แก่ ด้านการสื่อสาร การนำเสนอ ตรรกศาสตร์  มิติสัมพันธ์ และศิลปะ
ผลจากการนำโปรแกรม GSP ไปใช้
            การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 88.49/83.48 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต โดยใช้โปรแกรม GSP หลังเรียนสูงกว่า(อมรรัตร์  แสงทอง  2553)  ผลการพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่องความคล้าย โดยใช้โปรแกรม GSP สาระการเรียนรู้พื้นฐาน คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ผลการวิจัยพบว่า  ผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม  เรื่องความคล้าย  โดยใช้โปรแกรม GSP  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรม  เรื่องความคล้าย  โดยใช้โปรแกรม  GSP  สาระการเรียนรู้พื้นฐาน  คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01
ดังนั้นการนำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของครู  ที่สอนคณิตศาสตร์สามารถนำมาพัฒนาผู้เรียนได้ โดยเฉพาะกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่ยุคหนึ่งเป็นการอธิบายอยู่บนกระดานดำ  แต่ในปัจจุบันได้ใช้ GSP เป็นสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่นับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้อย่างดี ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ อยากรู้อยากเป็น มีความกระตือรือร้นอยากสัมผัส ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการเรียนการสอน ต่อยอดประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่นักเรียน เพิ่มแรงจูงใจให้แก่นักเรียน มีการเคลื่อนไหวและมีชีวิตชีวา สร้างความเป็นจริงเหมือนจริงเรียกร้องให้นักเรียนอยากทำแบบฝึกทักษะ แบบฝึกหัดหรือใบงาน จึงนับได้ว่าเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศและเจตคติที่ดีต่อการเรียนได้อย่างหนึ่ง ที่มีสอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.  2554


เอกสารและแหล่งข้อมูลประกอบการค้นคว้า
- กิดานันท์ มลิทอง  เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม  พิมพ์ครั้งที่ 2  กรุงเทพฯ อรุณการพิมพ์ .2543
- ไพรัช ธัชยพงษ์และพิเชษ ดุรงคเวโรจน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยี
- ข้อมูลจาก : http://www.sahavicha.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น